ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 12 เมษายน 2550
วันนี้ผมขอถือโอกาสแนะนำเครื่องมือใหม่ที่ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
หรือ AFET
ได้นำออกมาใช้ เพื่อเสริมในกระบวนการการซื้อขาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้ AFET ในการบริหารความเสี่ยงอยู่
เครื่องมือใหม่ที่ว่านี้มีชื่อว่า Exchange Futures for Physicals หรือ EFP ครับ
ถ้าแปลกันตรงตัวแบบ word
by word EFP หรือ Exchange Futures for Physicals สามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "การแลกเปลี่ยน (แปลจาก Exchange)
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures) เพื่อ (FOR)
การทำธุรกรรมในตลาดจริง (Physicals)" แปลกันแบบนี้ผมเชื่อว่าหลายท่านอาจยิ่งงงครับ
เพราะว่าการแปลจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทยข้างต้นนี้ไม่ได้ช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้นแต่อย่างใดเลย
กลับกันอาจเป็นการเพิ่มความสับสนให้บางท่านอีกด้วยซ้ำ
ก่อนจะอธิบายการกระบวนการของ EFP
ผมขออนุญาตอธิบายกระบวนการซื้อขายล่วงหน้าแบบ Futures Trade กันซักเล็กน้อยก่อนนะครับ ว่าเมื่อ นาย AAA เข้าขายยางล่วงหน้าใน
AFET หรือที่เรียกกันว่า Short RSS3
Futures เราจะถือว่านาย AAA คนนี้มีฐานะการถือครองด้านขาย
(ถือ Short) ของ Futures สัญญานี้ในพอร์ตของตน
โดยหลังจากนี้ไป หากนาย AAA มีเลือกที่จะถือสัญญา Futures
ด้าน Short นี้ ไปเรื่อย ๆ
จนถึงวันซื้อขายสุดท้าย นาย AAA อาจต้องส่งมอบสินค้าจริงให้ผู้ซื้อต่อไป
แต่หากก่อนถึงวันซื้อขายสุดท้ายดังกล่าวนั้น AAA เลือกที่จะล้างสัญญา
Short ที่ AAA ถืออยู่ก่อนนี้หมดไปได้ด้วยการซื้อล่วงหน้า
(Long RSS3 FUTURES) หรือที่เรียกว่าการ
OFFSET โดย Short เดิมของ AAA จะถูกล้าง (OFFSET) ด้วย Long ใหม่ที่
AAA ได้สร้างมาทีหลัง ซึ่งหลังจากการ OFFSET ดังกล่าว นาย AAA ก็จะไม่มีภาระผูกพันใด ๆ กับตลาดอีกต่อไป
วกกลับมาที่กระบวนการ EFP
ของเรานะครับ กระบวนการ EFP เป็นการที่
ผู้ซื้อ-ผู้ขายในตลาดจริง จูงมือกันมาตลาดล่วงหน้า เพื่อร้องขอให้สร้าง Position
ของสัญญา Futures ในพอร์ตของทั้งคู่
โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ที่ร้องขอนั้นต้องแสดงหลักฐานการทำธุรกรรมในตลาดจริง ณ
ช่วงเวลาเดียวกันกับ การร้องขอนั้น (โดยผู้ซื้อในตลาดจริงจะเป็นได้รับ Position
ด้านขาย ในตลาดล่วงหน้า ในทำนองเดียวกัน ผู้ขายในตลาดจริงจะได้รับ Position
ด้านซื้อ)
ตัวอย่างเช่น เมื่อ นาย BBB
ซึ่งเป็นผู้ขายในตลาดจริง และ นาย CCC ซึ่งเป็นผู้ซื้อในตลาดจริง
จูงมือกันมา AFET เพื่อขอทำ EFP หากคำขอได้รับการอนุญาต
AFET ก็จะสร้าง Position Long สำหรับ RSS3 Futures จำนวน 1 สัญญา ให้ BBB และ จะสร้าง Position Short ให้ CCC จำนวน 1 สัญญา (จะเห็นได้ว่าในตลาดล่วงหน้า BBB เป็นคนซื้อล่วงหน้า
ในขณะที่ CCC เป็นคนขายล่วงหน้า) โดยทั้งคู่ต้องแสดงหลักฐาน
(ให้ AFET เห็นเป็นการแลกเปลี่ยน) ว่า นาย BBB ทำธุรกรรมขายสินค้ายางพารา RSS3 จำนวน 5 ตัน (1
สัญญาเท่ากับ 5 ตัน) ให้นาย CCC กันจริง (อีกครั้งนะครับในตลาดจริง
BBB เป็นคนขาย และ CCC เป็นคนซื้อ)
ในเวลาเดียวกันกับการขอ ทำ EFP นั้น
ที่อธิบายไปข้างต้นเป็นหลักการทำ EFP
ครับ หลายท่านอ่านมาถึงจุดนี้ ก็ยังงง ว่าจะแลกเปลี่ยน Futures
เพื่อ Physicals ไปทำไม
การขอทำ EFP นี้มีประโยชน์ครับกรณีที่ผู้ซื้อล่วงหน้า
(มี Long Position ในพอร์ต) และ ผู้ขายล่วงหน้า (มี Short
Position ในพอร์ต) ประสงค์ที่จะรับมอบ และ
ส่งมอบสินค้าที่มีเงื่อนไขไม่ตรงกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน AFET ก็จะสามารถใช้กระบวนการ EFP นี้
ล้างสัญญาของทั้งคู่ออกจาก AFET ได้
ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมนะครับ เช่น นาย BBB
เจ้าของโรงงานยางรายใหญ่ มี 100 Short Position of RSS3 Futures ใน AFET (BBB ถือ Short
Position นี้เพื่อใช้บริหารความเสี่ยงเป็นปกติอยู่แล้ว) ได้พบกับ
นาย CCC ผู้ใช้ยางรายใหญ่ ผู้มี 100 Long Position of
RSS3 Futures แล้วตกลงว่า BBB จะขายยาง 5,000 (เทียบเท่า 100 สัญญา) ให้ CCC ที่ราคาหนึ่ง
การค้าขายกันโดยตรงระหว่าง BBB และ CCC นี้ ทำให้ภาระการบริหารความเสี่ยงใน AFET ที่ทั้งคู่ยังมีอยู่หมดนั้นไม่มีความจำเป็นอีกแล้ว
เนื่องจากความเสี่ยงด้านราคาทั้งคู่ได้หมดไปแล้ว
BBB (ผู้ขายในตลาดจริง) และ CCC (ผู้ซื้อในตลาดจริง) จึงแจ้ง AFET เพื่อขอทำ EFP
โดยหากคำขอได้รับอนุญาต AFET จะสร้าง Long
Position ให้ BBB และ สร้าง Shot
Position ให้ CCC (เป็นการแลกเปลี่ยนกับธุรกรรมในตลาดจริงที่ทั้งคู่ได้ทำในเวลาเดียวกันนี้)
ซึ่ง Long ใหม่ที่ BBB ได้รับนี้จะไปล้าง
Short ที่ BBB ถืออยู่เดิม และ Short
ใหม่ที่ CCC ได้รับจะไปล้าง Long เดิมที่ CCC มีอยู่
ส่งผลให้ทั้งคู่ไม่มีภาระใดเหลืออยู่ใน AFET ตรงตามความต้องการของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น